ตำบลกมลา
เป็นตำบลในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ชื่อนี้เป็นชื่อเดียวกับ
กราบาลา หรือ อ่าวลึก นั้นเอง แต่ได้เพี้ยนจาก กราบาลา ไปเป็น กรามาลา และ
กรามารา แล้วกลายเป็น "กำมะรา" ชื่อ กำมะรา
นี้ได้ใช้กันมาจนกระทั่ง ทำเนียบท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2486
หลังจากนั้นจึงมีผู้เกิดความคิดขึ้นว่า กำมะรา แปลไม้ได้
จึงได้เปลี่ยนให้เป็น กมลา เป็นภาษาไทยผสมอินเดีย แปลว่า
ดอกบัว ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า มีชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อ ตายมดิง
บ้านเดิมอยู่ที่ ต.กะรน อ.เมือง มีอาชีพทำสวนกล้วยที่ ตำบลป่าตอง
นอกจากนี้แกเป็นคนแก่เรียน มีตำรามากมายเก็บไว้ที่ตำบลป่าตอง
มีอาวุธประจำกายคือ หอก ซึ่งใหญ่มาก ไม่สามารถแบกได้เหมือนหอกทั่วไป
จำเป็นต้องลากอยู่เป็นประจำ คือ ลากจากป่าตอง เพื่อทำสวนกล้วย
ลากไปตำบลกมลาเพื่อศึกษาตำรับตำรา และลากกลับบ้าน
เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดชีวิต หมู่บ้านที่เก็บตำราของตายมดิง
จึงกลายเป็นบ้านกมลา ปัจจุบันคำว่า ตำรา ภาษาพูดถิ่นใต้
จะพูดว่า ตำมหรา และอาศัยสำเนียงใต้นี้เอง
กมลาจะมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้
ชายหาด สวนยางพารา รวมถึง สวนสมพรม (สวนที่มีผลไม้หลาย ๆ
ชนิดรวมกันอยู่ในสวนเดียวกัน เช่น ทุเรียน สะตอ กล้วย จำปาดะขนุน ลองกอง
ลางสาด เงาะบ้าน เป็นต้น) และถ้าจะกล่าวถึงกมลา
ก็จะต้องกล่าวถึงทุเรียนกมลา เพราะเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของตำบลกมลา
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนภูเขา
ทำให้คำที่ชายบ้านพูดปากต่อปาก เวลาที่จะไปทำสวน แหล่งน้ำที่ชาวกมลาใช้สอย
ได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ดำเนินชีวิตด้วยการหาของป่ามาทำเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต
ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ต้องซื้อ ด้วยเหตุผลที่ว่า มีปลาจากทะเล มีผัก
ผลไม้จากสวน ส่วนนาข้าว
เมื่อก่อนตำบลกมลามีการปลูกข้าวเพื่อใช้กินกันในเฉพาะครัวเรือนไม่ได้มีการค้าขาย
แต่ปัจจุบันนาปลูกข้าวได้เปลี่ยนไปเป็นอาคารที่อยู่อาศัยไปเสียหมดแล้ว
จากธรรมชาติที่สวยงาม ทุ่งหญ้าเขียวขจีได้เปลี่ยนไปเป็น บ้านพักตากอากาศ
โรงแรม เป็นเพราะการท่องเที่ยวมีความเจริญมากขึ้น
จึงส่งผลให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างเนืองแน่น ได้เข้ามาประกอบอาชีพ
และท่องเที่ยวซึ่งมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาในภูเก็ต
วิถีชีวิตได้เปลี่ยนจากความเรียบง่ายแบบชุมชนชนบท
มาเป็นวิถีชีวิตแบบชุมชนเมืองแทน
วิสัยทัศน์
“องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยว สู่มาตรฐานสากล ชุมชนมีคุณภาพชีวิต ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน”
พันธกิจ
1) พัฒนาด้านการศึกษาในทุกด้านแก่คนทุกวัยเพื่อเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และเตรียมพร้อม สู่เมืองนานาชาติ โดยกำหนดให้สูงกว่ามาตรฐานที่รัฐกำหนด
2) พัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและส่งเสริมอาชีพของประชาชนในเขตตำบลกมลาให้มีงานทำ มีการประกอบสัมมาอาชีพที่ดี และมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก ทั่วโลก
3) พัฒนาตำบลกมลาให้เป็นสังคมที่อบอุ่น มีความห่วงใยอาทรต่อกัน มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี โดยมีการมุ่งเน้นการดูแลตั้งแต่เด็ก ตลอดจนผู้สูงอายุ รวมถึงการมุ่งเน้นการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
4) ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกระดับให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีมีสุข มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์
5) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทั่วถึง
6) บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา อย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับในอนาคตได้ โดยให้มีสิ่งแวดล้อม สวยงาม สะอาด และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
7) บริหารงานตามหลักคุณธรรม หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งเน้นการบริการที่เป็นเลิศอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาคเท่าเทียมกัน ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกับสร้างเสริมให้บุคลากรให้มีจิตอาสาในการบริการประชาชนด้วยความเต็มใจ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านการศึกษา
ประชาชนมีการศึกษาดี มีคุณธรรมจริยธรรม ร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านสังคม
ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านคุณภาพชีวิต
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ด้านบริหารจัดการ
ประชาชนได้รับบริการด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น