โพสต์เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2556 12:36 น.
มาร่วม..ปกป้อง สถาบันพระมหากษัตริย์ของพวกเรา เราจะ...เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือสิ่งอื่นใด เราจะ...ทดแทนคุณแผ่นดินเกิดของเราตราบชั่วลูกหลาน มันผู้ใด..มุ่งหมายทำลายชาติ มันผู้นั้น..จักต้องมีอันเป็นไป หาความสุขความเจริญมิได้..และกลายเป็นคน...ไร้แผ่นดิน
ข้าราชการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก 58.9.30.xxx
ความคิดเห็นที่ 2
โพสต์เมื่อ: 18 เมษายน 2556 10:12 น.
พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดํารัสที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงินวิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย
เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน
ใบบัว 1 101.108.0.xxx
ความคิดเห็นที่ 3
โพสต์เมื่อ: 26 กันยายน 2556 14:21 น.
“คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
ใบบัว 182.53.136.xxx
ความคิดเห็นที่ 4
โพสต์เมื่อ: 28 ตุลาคม 2556 08:43 น.
รักพ่อเชื่อฟังพ่อก็อยู่รอดโดยปลอดภัย ราชันราชินีบารมีคู่แผ่นดิน หากแม้นไทยเราสิ้นจะสูญสิ้นแผ่นดินธรรม เราคงจะสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน หากสิ้นกษัตริย์
ม.พัน.๒๒ ค่ายอดิศร สระบุรี cavalry.center22@gmail.com 125.26.245.xx
ความคิดเห็นที่ 1
โพสต์เมื่อ: 27 มีนาคม 2556 13:27 น.
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทานค่าใช้จ่ายในทุกด้านลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า
...ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีวิตก็ตามดังพระราชดำรัสที่ว่า
...ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลักสำคัญ...
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า
...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้ เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
...การที่ต้องการให้ทุคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงเพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง...
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากความละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า
...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูน ความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...
ทรงย้ำเน้นว่าสำคัญที่สุดคือ คำว่า พอ
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผล
ให้กับตัวเองให้ได้
และเราก็จะพบกับความสุข
ใบบัว1 101.108.155.xxx